29 สิงหาคม 2550

กระบวนการหลอม

กระบวนการหลอม
การใช้ส่วนผสมของวัตถุดิบมี 3 ทางคือ
1.วัตถุดิบใหม่ที่ซื้อมา
2.วัตถุที่ทำเสร็จแล้วแต่ไม่สามารถใช้งานได้จึงนำมาหลอมใหม่
3.การซื้อขวดแก้วที่ใช้แล้วนำกลับมาหลอมใหม่ที่ได้จากโครงการรีไซเคิล หรือจากคนรับซื้อของเก่า
ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ขวดแก้วจะไม่ใช้แก๊สในการเผาไหม้แต่จะใช้น้ำมันเตาแทนเพราะเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมวัตถุดิบที่ได้จากการนำกลับมาใช้นั้นต้องผ่านกระบวนการทำความสะอาดก่อน และการชั่งเศษแก้วด้วยการไหล ในกระบวนการหลอมใช้อุณหภูมิในเตา 1,600 ํC ในการหลอม 25 นาที ใช้น้ำมันเตาในการหลอม ส่วนข้างล่างใช้ไฟฟ้า ในเตาจะมีช่องอยู่ 2 ช่อง คือ ช่องทางด้านซ้ายและด้านขวา การหลอมจะต้องทำสลับข้างกัน ส่วนความร้อนที่ออกไปจะกลับหมุนเวียนไว้ จึงช่วยลดอุณภูมิในอากาศไม่ให้ร้อนมากขึ้น มีตัววัดระดับน้ำแก้วถ้าได้ระดับมันจะหยุดการชาร์ตแบ็ต
ขวดขนาดใหญ่จะเริ่มการหลอมตั้งแต่อุณหภูมิ 1,245-1,137 ํC เบียร์ขวดเล็กน้ำหนัก 250 กรัม /ใบ ผลิตได้ 235 ขวด/นาที ส่วนเบียร์ขวดใหญ่มีน้ำหนัก 385 กรัม ผลิตได้ 224 ขวด/นาที ใช้กระบวนการผลิตแบบ Blow & Blowขวดเล็ก 280 กรัม ก้อนแก้ว/ลูกกอล์ฟ จะมีกระบวนการทำข้างหลังก่อนแล้วจึงจะย้อนมาทำข้างหน้า จะใช้กระบวนการผลิตแบบ Blow & Blow ขวดเล็กจะใช้อุณหภูมิที่ร้อนกว่า ขวดเล็กจะใช้อุณหภูมิเริ่มต้นที่ 1,220-1,153 ํC การผลิตขวดกระทิงแดงจะเริ่มต้นตั้งแต่อุณหภูมิที่ 1,265-1,160 ํC โดยใช้อุณหภูมิที่ร้อนสามารถผลิตได้ 435 ขวด/ นาที ในกระบวนการลำเลียงจะต้องมีการทาน้ำยาเพื่อลดการเสียดสี มีเครื่องตรวจการเปลี่ยนรูปหรือสิ่งแปลกปลอมในขวด ถ้าขวดใบนั้นผิดรูปแบบมันจะแยกไว้อีกที่หนึ่ง ส่วนขวดที่มีลักษณะตามรูปแบบก็จะลำเลียงไปยังการบรรจุภัณฑ์ จากการไปดูจะเป็นเบียร์ขวดเล็กถ้าเป็นการบรรจุขวดเบียร์จะต้องใช้พลาสติกในการคลุมแต่มีราคาแพง 1 แพ็ค ถ้าใช้พลาสติกคลุมก็มีราคาถึง 90 บาท แต่ถ้าใช้เทป มีราคา 32 บาท สามารถประหยัดได้ถึงครึ่งหนึ่งเลย จากนั้นก็จะส่งไปยังอีกห้องหนึ่งซึ่งจะมีคนงานที่ขับรถที่ใช้เคลื่อนย้ายสิ่งของไปแต่ละจุดเพื่อรอการจัดส่งให้แต่ละบริษัทที่สั่งทำ การทำงานทุกขั้นตอนใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการควบคุมทั้งหมดตั้งแต่การผสมวัตถุดิบ

ไม่มีความคิดเห็น: