29 สิงหาคม 2550

บริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด

นโยบายคุณภาพ: มุ่งมั่นผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพ เพื่อความพึงพอใจของลูกค้า
นโยบายสิ่งแวดล้อม:บริษัทบางกอกกล๊าส จำกัด ร่วมป้องกันมลพิษและปรับปรุงสิ่งเวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
สโลแกน:ขวดแก้วใบเก่าเพื่อโลกใบใหม่บริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด ผู้ผลิต บรรจุภัณฑ์แก้วที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย

เป็นบริษัทร่วมลงทุนระหว่าง
- บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด
- บริษัท Saint - Gobain Oberland Glas AG
- กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ใช้บรรจุภัณฑ์แก้ว
- ผู้ถือหุ้นรายย่อยอื่นๆ

บริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเมื่อปี พ.ศ. 2517 ด้วยทุนจดทะเบียน 140 ล้านบาท โดยได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ดำเนินการก่อสร้างโรงงานที่ จังหวัด ปทุมธานีแล้วเสร็จ และดำเนินการผลิตเมื่อต้นปี พ.ศ. 2523 ด้วยเตาหลอม 1 เตากำลังการผลิต 135 ตันต่อวัน หรือประมาณ 1 ล้านขวดต่อวัน บริษัทฯ ได้เจริญเติบโตและขยายกำลังการผลิตมาโดยตลอด จนปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 900 ล้านบาท มีโรงงาน 2 แห่งที่อำเภอธัญบุรี จังหวัด ปทุมธานี (5 เตา) และที่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง (3 เตา) ซึ่งในอนาคตจะมีโรงงานแห่งที่ 3 ที่จังหวัด ขอนแก่น ซึ่งจะเปิดดำเนินการได้ในต้นปี 2551
ปัจจุบัน บริษัทฯ มีกำลังการผลิตจากโรงงานทั้ง 2 แห่ง รวมกันถึง ประมาณ 2,230 ตัน ต่อวัน หรือประมาณ 8,000,000 - 12,000,000 ขวดต่อวัน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์แก้ว ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ทำการคิดค้น และพัฒนา เทคโนโลยีการผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วให้ทันสมัยมีประสิทธิภาพมากขึ้นมาโดยตลอด จนเป็นที่ยอมรับของลูกค้าผู้ใช้บรรจุภัณฑ์แก้วจนก้าวมาเป็นผู้นำในการผลิตบรรจุภัณฑ์แก้ว ในประเทศไทย และในภูมิภาคเอเชีย โดยยึดหลักว่า เราห่วงใยและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นธรรม ได้รับรองมาตรฐาน ISO 9001:200, ISO1400:2004 มีห้องพยาบาล ทำงานกันตลอด 24 ชั่วโมง


ติดต่อที่ 194 หมู่ 4 ต. กระแสบน อ. แกลง จ.ระยอง 21110
โทรศัพท์ : (66) 0-3867-8111-9
โทรสาร : (66) 0-3861-5871

ข้อมูลเกี่ยวกับโรงงาน

ข้อมูลเกี่ยวกับโรงงาน
- โรงงานจังหวัดปทุมธานี (บริษัทแม่)
จำนวนเตาหลอม 5 จำนวนสายการผลิต 16 กำลังการผลิต 1,310 ตัน/วัน 4,000,000 – 7,000,000 ขวด/วัน จำนวนพนักงาน 1,979
- โรงงานจังหวัดระยอง
จำนวนเตาหลอม 3 จำนวนสายการผลิต 10 กำลังการผลิต 920 ตัน/วัน 3,000,000 – 5,000,000 ขวด/วัน จำนวนพนักงาน 652
- โรงงานจังหวัดของแก่น
จำนวนเตาหลอม 1 จำนวนสายการผลิต 2 กำลังการผลิต 280 ตัน/วัน 600,000 - 700,000 ขวด/วัน จำนวนพนักงาน 200


ปัจจุบันทางบริษัทได้มีการส่งออกหลายประเทศ เช่น ประเทศเกาหลี, นิวซีแลนด์, ออสเตเลีย และมาเลเซีย เป็นต้น
ห้องเก็บอะไหล่ แบ่งออกเป็น 2 ห้อง คือ ห้องวัตถุดิบ และห้องวัสดุบรรจุ

พัฒนาการที่สำคัญ

ปี 2517 ก่อตั้ง บริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด ดำเนินธุรกิจผลิตขวดแก้วและจัดจำหน่าย
ปี 2523 เริ่มทำการผลิตที่เตา 1 กำลังการผลิต 150 ตัน/วัน
ปี 2524 บ.บุญรอดบริวเวอรี่ จก. เข้าร่วมลงทุนโดยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
ปี 2526 บ.บุญรอดบริวเวอรี่ จก. ขยายกำลังการผลิตเป็น 350 ตัน/วัน
ปี 2530 ก่อตั้ง บ.เพรชแพ็ค จก. ดำเนินธุรกิจผลิตขวดพลาสติก
ปี 2531 ก่อตั้ง บ.บางกอกโมล์ ดำเนินธุรกิจผลิตแม่พิมพ์ขวดแก้ว
ปี 2532 บ.บางกอกโมล์ ขยายกำลังการผลิตเป็น 475 ตัน/วัน
ปี 2533 ก่อตั้ง บ.บางกอกคลาสติ้ง จก. ดำเนินธุรกิจ หล่อเหล็ก ทำแม่พิมพ์ บ.บางกอกกล๊าส ขยายกำลังการผลิตเป็น 685 ตัน/วัน
ปี 2534 บ.บางกอกกล๊าส ขยายกำลังการผลิตเป็น 1,035 ตัน/วัน
ปี 2535 ก่อตั้ง บ.ครอรีบอร์ด จก. ดำเนินธุรกิจผลิตแผ่นพลาสติกแข็ง
ปี 2536 เริ่มทำการผลิตอิฐแก้วเป็นบริษัทแรกในประเทศไทยภายใต้เครื่องหมายการค้า "อิฐแก้วบีจี"
ปี 2537 ก่อตั้ง บ.บางกอกวีซีแพ็ค ดำเนินธุรกิจผลิตกล่องกระดาษ บ.บางกอกกล๊าส จก. ขยายกำลังการผลิตเป็น 1,435 ตัน/วัน
ปี 2538 บ.บางกอกกล๊าส จก. ขยายกำลังการผลิตเป็น 1,560 ตัน/วัน
ปี 2540 บ.บางกอกกล๊าส จก. ขยายกำลังการผลิตเป็น 1,960 ตัน/วัน
ปี 2546 หยุดการผลิตเตา 3 รังสิต เนื่องจากครบอายุการใช้งานอย่างถาวร
ปี 2548 หยุดการผลิตอิฐแก้ว บ.บางกอกกล๊าส จก. ขยายกำลังการผลิตเป็น 2,240 ตัน/วัน
ปี 2549 ก่อตั้ง บ.ขอนแก่นกล๊าส จก. ดำเนินธุรกิจผลิตขวดแก้วและจัดจำหน่าย

เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตขวดแก้ว


เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตขวดแก้ว
เครื่องจักรผลิตสามารถผลิตได้ 250 ขวด/นาที
ระบบกระบวนการผลิตมี 3 ระบบ คือ
1. B&B (Blow and Blow Process) เป็นกรรมวิธีเป่า
2. P&B (Press and Blow Process) เป็นกรรมวิธีอัดแล้วเป่า
3. MMPP

แร่ที่ใช้ในการผลิตมี 4 SILO ดังนี้
1. Limestone
2. Dolomite
3. Soda-ash
4. Feldspar

กระบวนการหลอม

กระบวนการหลอม
การใช้ส่วนผสมของวัตถุดิบมี 3 ทางคือ
1.วัตถุดิบใหม่ที่ซื้อมา
2.วัตถุที่ทำเสร็จแล้วแต่ไม่สามารถใช้งานได้จึงนำมาหลอมใหม่
3.การซื้อขวดแก้วที่ใช้แล้วนำกลับมาหลอมใหม่ที่ได้จากโครงการรีไซเคิล หรือจากคนรับซื้อของเก่า
ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ขวดแก้วจะไม่ใช้แก๊สในการเผาไหม้แต่จะใช้น้ำมันเตาแทนเพราะเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมวัตถุดิบที่ได้จากการนำกลับมาใช้นั้นต้องผ่านกระบวนการทำความสะอาดก่อน และการชั่งเศษแก้วด้วยการไหล ในกระบวนการหลอมใช้อุณหภูมิในเตา 1,600 ํC ในการหลอม 25 นาที ใช้น้ำมันเตาในการหลอม ส่วนข้างล่างใช้ไฟฟ้า ในเตาจะมีช่องอยู่ 2 ช่อง คือ ช่องทางด้านซ้ายและด้านขวา การหลอมจะต้องทำสลับข้างกัน ส่วนความร้อนที่ออกไปจะกลับหมุนเวียนไว้ จึงช่วยลดอุณภูมิในอากาศไม่ให้ร้อนมากขึ้น มีตัววัดระดับน้ำแก้วถ้าได้ระดับมันจะหยุดการชาร์ตแบ็ต
ขวดขนาดใหญ่จะเริ่มการหลอมตั้งแต่อุณหภูมิ 1,245-1,137 ํC เบียร์ขวดเล็กน้ำหนัก 250 กรัม /ใบ ผลิตได้ 235 ขวด/นาที ส่วนเบียร์ขวดใหญ่มีน้ำหนัก 385 กรัม ผลิตได้ 224 ขวด/นาที ใช้กระบวนการผลิตแบบ Blow & Blowขวดเล็ก 280 กรัม ก้อนแก้ว/ลูกกอล์ฟ จะมีกระบวนการทำข้างหลังก่อนแล้วจึงจะย้อนมาทำข้างหน้า จะใช้กระบวนการผลิตแบบ Blow & Blow ขวดเล็กจะใช้อุณหภูมิที่ร้อนกว่า ขวดเล็กจะใช้อุณหภูมิเริ่มต้นที่ 1,220-1,153 ํC การผลิตขวดกระทิงแดงจะเริ่มต้นตั้งแต่อุณหภูมิที่ 1,265-1,160 ํC โดยใช้อุณหภูมิที่ร้อนสามารถผลิตได้ 435 ขวด/ นาที ในกระบวนการลำเลียงจะต้องมีการทาน้ำยาเพื่อลดการเสียดสี มีเครื่องตรวจการเปลี่ยนรูปหรือสิ่งแปลกปลอมในขวด ถ้าขวดใบนั้นผิดรูปแบบมันจะแยกไว้อีกที่หนึ่ง ส่วนขวดที่มีลักษณะตามรูปแบบก็จะลำเลียงไปยังการบรรจุภัณฑ์ จากการไปดูจะเป็นเบียร์ขวดเล็กถ้าเป็นการบรรจุขวดเบียร์จะต้องใช้พลาสติกในการคลุมแต่มีราคาแพง 1 แพ็ค ถ้าใช้พลาสติกคลุมก็มีราคาถึง 90 บาท แต่ถ้าใช้เทป มีราคา 32 บาท สามารถประหยัดได้ถึงครึ่งหนึ่งเลย จากนั้นก็จะส่งไปยังอีกห้องหนึ่งซึ่งจะมีคนงานที่ขับรถที่ใช้เคลื่อนย้ายสิ่งของไปแต่ละจุดเพื่อรอการจัดส่งให้แต่ละบริษัทที่สั่งทำ การทำงานทุกขั้นตอนใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการควบคุมทั้งหมดตั้งแต่การผสมวัตถุดิบ

โครงการรีไซเคิล


ปัจจุบัน โลกมีวิวัฒนาการสูงขึ้น และประชากรก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ปัญหาด้านมลภาวะและขยะ ต่างๆ ที่เกิดมาจากการกระทำของมนุษย์ส่งผลให้สภาวะแวดล้อมที่มีอยู่เสียไป มีผลต่อการดำรงชีวิตของประชากร
ภาชนะบรรจุภัณฑ์ต่างๆ เช่น กระดาษ พลาสติก โฟม อลูมิเนียม แก้ว ซึ่งได้ผลิตมาในรูปแบบที่แตกต่างกัน จุดประสงค์ เพื่อบรรจุอาหารและน้ำ เพื่อความสะดวกในการบริโภค เมื่อเสร็จสิ้นการบริโภค มนุษย์ก็จะนำไปทิ้งเป็นขยะ ดังที่สร้างปัญหาให้สังคมในปัจจุบัน
มนุษย์จึงได้หาหนทางที่จะจัดการกับขยะเหล่านั้นด้วยวิธีต่างๆ และวิธีการหนึ่งที่ได้พยายามนำบรรจุภัณฑ์เหล่านั้นกลับมาใช้ใหม่ เช่น "แก้ว" เพราะแก้วเป็นวัตถุที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี และเมื่อนำเศษแก้วมาหลอมใช้ใหม่ก็ยังคงคุณภาพเช่นเดิม ซึ่งจะแตกต่างกับพลาสติกหรือโฟม ไม่ค่อยมีการนำกลับมาใช้ใหม่ แม้จะนำกลับมาใช้ใหม่คุณสมบัติก็ไม่บริสุทธิ์ครบถ้วนเหมือนเดิม
แก้วจึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในอดีต ปัจจุบัน และในอนาคต จากความสำเร็จในการนำเศษแก้วกลับมาใช้ในการผลิตใหม่ได้ ทำให้ประหยัดพลังงาน ทรัพยากร และลดปัญหาขยะ อีกทั้งยังลดการขาดดุลจากการที่ต้องสั่งซื้อสารเคมีจากต่างประเทศอีกด้วย บรรจุภัณฑ์แก้ว นอกจากมีสีสันและรูปลักษณ์ที่สวยงาม สามารถปกป้องคุณภาพสินค้าได้อย่างดีเยี่ยมแล้วยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค ซึ่งการนำกลับมาใช้ใหม่มีได้หลายรูปแบบคือ
Recycle ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแก้ว เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดีสามารถนำกลับมา รีไซเคิลหรือใช้ในการผลิตใหม่ซ้ำๆ ได้ไม่รู้จบโดยยังมีคุณสมบัติเหมือนเดิม 100% วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตภัณฑ์แก้วคือ ทรายแก้ว หินปูน หินโดโลไมท์ หินฟันม้า เป็นแร่ธาตุในธรรมชาติ และโซดาแอซ รวมถึงสารเคมีต่างๆ ที่ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ การรีไซเคิล หรือการใช้ผลิตภัณฑ์แก้วเก่า หรือเศษแก้วกลับมาใช้ในการผลิตใหม่ จึงเป็นการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งยังลดการขาดดุลจากการสั่งซื้อสารเคมีจากต่างประเทศด้วย
เศษแก้วที่นำมาหลอมทำผลิตภัณฑ์ใหม่ยังช่วยประหยัดพลังงานในการหลอมได้อีก 2 ถึง 3 % ทุกๆ 10 % ของเศษแก้วที่ใช้เพิ่มขึ้น ผลพลอยได้จากการใช้พลังงานที่น้อยลง คือการลดมลภาวะทางอากาศจากไอเสียในการหลอมด้วยอีกทางหนึ่ง ดังนั้นปัญหาขยะมากมายในประเทศไทย ถ้าได้มีการแยกแยะเศษแก้วออกจากขยะอื่นๆ แล้วนำกลับมาหลอมใหม่ ก็ย่อมเป็นการ ลดปัญหาได้ส่วนหนึ่ง

Refill เช่นน้ำอัดลม และสินค้าอื่นๆ หลายชนิดจะนำขวดเก่ามาทำความสะอาด และบรรจุใหม่ซ้ำอีกครั้งเป็น การลดต้นทุน ลดภาระค่าบรรจุภัณฑ์ แก่ผู้บริโภคด้วย
Re-use สินค้าหลายชนิดเมื่อบริโภคหมดแล้วขวดเก่านั้นยังสามารถนำมาใช้บรรจุสิ่งอื่นๆ ได้อีก เป็นการใช้ประโยชน์ซ้ำสองได้เต็มที่ด้วย ตัวอย่างเช่น ขวดกาแฟผง เมื่อบริโภคหมดแล้วสามารถใช้ใส่เกลือ น้ำตาล ใช้งานได้อีก
~**ขวดแก้วใบเก่าช่วยโลกใบใหม่ การนำขวดแก้วที่ใช้แล้วนำกลับมารีไซเคิลใหม่ สามารถช่วยลดอุณภูมิในอากาศ ไม่ทำให้โลกร้อน ลดค่าไฟฟ้าได้เดือนละ 25 บาท~**

บริษัท โซนี่ เทคโนโลยี ประเทศไทย จำกัด (อยุธยา เทคโนโลยีเซ็นเตอร์)


บริษัท โซนี่ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด (อยุธยา เทคโนโลยีเซ็นเตอร์) 92 หมู่ 1 นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค ถ.เอเซีย-นครสวรรค์ ต.บ้านเลน อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา 13160
โทรศัพท์ 0-3535-0721 โทรสาร 0-3535-0751

บริษัทโซนี่ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546 โดยเกิดจากการรวบรวมกิจการระหว่าง บริษัท โซนี่ สยามอินดัสตรี้ส์ จำกัด (ซึ่งภายหลังกำหนดเป็น อยุธยาเทคโนโลยีเซ็นเตอร์) และบริษัทโซนี่ โมบายล์ อิเล็กทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (ซึ่งภายหลังกำหนดเป็น ชลบุรี เทคโนโลยี เซ็นเตอร์) บริษัท โซนี่ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด (อยุธยาเทคโนโลยีเซ็นเตอร์) ก่อตั้งปี พ.ศ. 2531 และดำเนินการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์สี เครื่องเสียง แผงวงจรอิเล็กทรอนิคส์และชิ้นส่วนอุป-กรณ์อิเล็กทรอนิคส์ โดยมีการพัฒนาระบบการจักการอย่างต่อเนื่องและได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดการด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ISO 9001: 2000, ISO14001,- OHSAS18001) ครบถ้วนเมื่อ พ.ศ. 2545 ปัจจุบันมีพนักงานทั้งสิ้น 1,613 คน

หลักการทำงานของบริษัท
การดำเนินกิจกรรมการเพิ่มผลผลิตของบริษัท โซนี่ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด โดยได้รับนโยบายและเป้าหมายจากผู้บริหารระดับสูง ซึ่งกำหนดจากความพึงพอใจของทางลูกค้า แผนธุรกิจในแต่ละปี (นโยบายบริษัท) และข้อกำหนดหรือกฎหมายซึ่งจะส่งผลดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์คือ เพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการประกอบการ รวมทั้งพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษากิจกรรมและเพิ่มผลผลิตให้ดำเนินการได้ตลอดไป

ต้นกำเนิดบริษัทโซนี่

บริษัท โซนี่ ประเทศไทยจำกัด พ.ศ. 2489 นายมาซารุ อิบูกะ และนายอะคิโอะ โมริตะ เป็นผู้ก่อตั้งขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่นในนามบริษัท โตเกียว อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ต่อมาในปี 2501 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท โซนี่ คอร์เปอร์เรชั่น หลังจากนั้นธุรกิจของบริษัทฯ ได้ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง โดยโซนี่ได้เปิดบริษัทลูกในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งรวมถึงในปี พ.ศ. 2531 ซึ่งบริษัท โซนี่ คอร์เปอร์ชั่น จำกัด ได้เข้ามาตั้งบริษัทลูกในประเทศไทย ด้วยเล็งเห็นถึงศักยภาพของตลาดในประเทศไทยที่กำลังมีแนวโน้มเติบโตมากในอนาคต โดยเฉพาะในแถบเอเซียน ดังนั้นนับแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา บริษัท โซนี่ ไทย จำกัด จึงได้ถือกำเนิดขึ้นและเริ่มดำเนินธุรกิจของโซนี่ในประเทศไทย ทั้งนี้ ก่อนหน้าที่บริษัท โซนี่ คอร์เปอร์เรชั่น จะเข้ามาตั้งบริษัทโซนี่ไทยนั้น บริษัท สามชัย จำกัด ซึ่งก่อตั้งโดยนายธรรมา ปิ่นสุกาญจนะ ได้เป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์โซนี่ ในยุคนั้นนับว่าบริษัทสามชัยเป็นบริษัทตัวแทนจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีชื่อเสียง จำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าเกือบทุกประเภท และด้วยเหตุนี้เองจึงอาจกล่าวได้ว่าบริษัทสามชัยนั้นเป็นบริษัทฯ รายแรกที่ทำให้ชื่อเสียงของยี่ห้อโซนี่เริ่มเป็นที่รู้จักในตลาดประเทศไทย ความเป็นมาของบริษัท โซนี่ เริ่มต้นขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2489 เวลานั้นชื่อเดิมของบริษัทฯ คือ บริษัท โตเกียว สึชิน โกเคียว เคเค (บริษัท โตเกียว เทเลคอมมูนิเคชั่นส์ เอนจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น) แต่เนื่องจากคุณมาซารุ อิบุกะ และ คุณอาคิโอะ โมริตะ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทฯ นั้นต้องการให้ชื่อบริษัทจดจำได้ง่าย เพราะถือว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จของบริษัทฯ ในตลาดโลก จึงได้ใช้ชื่อใหม่เป็น "โซนี่" ชื่อนี้เกิดจากการนำคำสองคำมาผสมกัน คำแรกคือ "โซนุส" (Sonus) อันเป็นรากศัพท์ภาษาละติน มีความหมายว่า "เสียง" และ "เกี่ยวกับเสียง" ส่วนอีกคำหนึ่งนั้นคือ "ซันนี่" (Sonny) หมายถึงลูกชายตัวน้อย เหตุดังนี้ชื่อบริษัท "โซนี่" จึงสื่อถึงจิตวิญญาณและแรงบันดาลใจของบริษัทฯ ในอันที่จะอยู่เคียงข้างผู้ใช้ผลิตภัณฑ์โซนี่ อีกทั้งการเสริมสร้างชื่อเสียงของบริษัทฯ ในการนำสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ให้ก้าวล้ำสู่อนาคตแห่งเทคโนโลยีดิจิตอล วิสัยทัศน์ของผู้ก่อตั้งบริษัท โซนี่ คือการทำให้ "โซนี่" เป็นชื่อที่ทุกครัวเรือนทั่วโลกต่างก็ให้ความไว้วางใจ ด้วยเหตุนี้ในปี พ.ศ. 2531 คุณโมริตะจึงได้ริเริ่มใช้วลีว่า "การผสานกับท้องถิ่นในระดับโลก" หรือ "Global Localisation" เขากล่าวว่า "ยุคสมัยนี้ มีบริษัทจำนวนมากที่พยายามตามให้ทันโลกานุวัติ แต่บริษัท โซนี่ จะต้องรุกไปข้างหน้าตามนโยบายการผสานกับท้องถิ่นในระดับโลก นั่นคือการที่บริษัทฯ สามารถหยั่งรากลึก และกลายเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง" โซนี่ คอร์ปอเรชั่น ได้เดินทางมาเป็นระยะทางยาวไกลนับแต่แรกก่อตั้งในปี พ.ศ. 2501 โดยมีผลิตภัณฑ์ชิ้นแรกคือวิทยุทรานซิสเตอร์ ด้วยความที่เป็นนักคิดที่มีวิสัยทัศน์ก้าวไกล ผู้ก่อตั้งทั้งสองจึงได้ทำให้ "โซนี่" เป็นเครื่องหมายการค้าระดับโลกแต่ก็ได้รับความสนใจจากคนทั่วๆ ไป ดังนั้นจึงถือว่าสมเหตุสมผลหากจะมีการสร้างโรงงานผลิตสินค้าขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ที่บริษัทฯ ดำเนินการอยู่ เมื่อกิจการของบริษัทฯ เจริญเติบโตขึ้นแล้ว นับตั้งแต่บริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินกิจการเป็นต้นมานั้น การสร้างสรรค์และสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ของโซนี่ก็ยังคงหาผู้ทัดเทียมได้น้อยมาก สิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวนั้นได้แก่โทรทัศน์สี Trinitron (พ.ศ. 2511) เครื่องเล่นวิดีโอคาสเสทชนิดสี (พ.ศ. 2514) เครื่องเล่นวอล์คแมนอันโด่งดัง (พ.ศ. 2522) เครื่องเล่นซีดีเครื่องแรกของโลก (พ.ศ. 2525) แผ่นฟลอปปี้ดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว (พ.ศ. 2532) และอื่นๆ อีกมากมาย 20 มิถุนายน 2531 ก่อตั้งบริษัทที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 7 เมษายน 2538 ก่อตั้งบริษัทที่จังหวัดชลบุรี บริษัท โซนี่ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด จ.อยุธยา เป็นบริษัทผู้ผลิต เครื่องใช้ไฟฟ้าแผงวงจรอิเล็กทรอนิคส์และ ชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ชั้นนำ ของประเทศไทยมาเป็นระยะเวลากว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันก่อตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2546 โดยเกิดจากการรวบรวมกิจการระหว่าง บริษัท โซนี่ สยาม อินดัสตรี้ส์ จำกัด และบริษัท โซนี่ โมบายล์ อิเล็กทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด จากอดีตจนถึงปัจจุบันบริษัทโซนี่ ฯ ได้ยึดหลักการทำงานภายใต้มาตรฐาน เดียวกันนั้นคือ การเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการประกอบการรวมทั้งพัฒนา บุคคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษากิจกรรมและเพิ่มผลผลิตให้ดำเนินการ ได้ตลอดไป โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โซนี่ได้มุ่งมั่นพัฒนาขีดความสามารถ ในการตอบสนองความต้องการสูงสุดของลูกค้า และสังคมด้วยการพัฒนาเทคโนโลยี ในด้านต่างๆ ตั้งแต่ด้านคุณภาพของสินค้าและบริการ การพัฒนาบุคลากร ตลอดจน การมีจิตสำนึกที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งยืนยัน ให้โซนี่กลายเป็นผู้นำ ในการผลิตสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิคส์ รวมทั้งได้รับการรับรองมาตรฐานการจัด การด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ISO 9001:2000 , ISO 14001, OHSAS 18001)

ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์

Sony DNA
- Creative มีความคิดสร้างสรรค์ เชื่อว่าทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ปรับปรุงแนวคิดเดิม
- Globallzation โลกาภิวัฒน์ ต้องเข้าใจวิธีการทำงาน การติดต่อกับคนหลากหลายเชื้อชาติ
- Professionalism ความเป็นมืออาชีพ มีความรู้ความเข้าใจ ถ้ามีคำถามสามารถตอบได้ทันที มีผลงานที่ดีและความภาคภูมิใจที่จะเสนอขึ้นมา
- Communication การติดต่อสื่อสาร
- Curiosity ความสงสัยอยากเรียนรู้ สามารถเป็นแรงบันดาลใจได้ ให้เกิดแนวคิดที่ว่า อะไรเป็นไปไม่ได้ ต้องเป็นไปได้

Happy work life "การทำงานอย่างมีความสุข"
Businessmind ปลูกฝังความรู้เกี่ยวกับธุรกิจกับพนักงานเพราะมีการแข่งขันให้พนักงานมีความผูกพันกับบริษัท มองถึงจุดคุ้มทุน
Proactive Ation การทำงานเชิงรุก ต้องการให้พนักงานกำหนดเป้าหมายที่แน่ชัด มองถึงวิธีการแก้ปัญหาOpportunity Organization ให้โอกาสกับคนรุ่นใหม่
Positive Approach การเข้าไปจัดการในเชิงบวก กระตุ้นการทำงานเป็นทีมและในเรื่องของวัฒนธรรม
Innovative and creative นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์พิเศษคือ ต้องผ่านการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบแล้ว เหมาะสมกับการปรับเปลี่ยน
Self learning เรียนรู้ด้วยตนเองเกิดขึ้นได้ด้วยใจ
Customer Oriented ลูกค้าต้องการอะไร บุคคลากรในองค์กรต้องตระหนักถึงเรื่องนี้ ต้องฟังเสียงลูกค้า Ownership ความเป็นเจ้าของ มีความรับผิดชอบ เมื่อทำอะไรต้องให้ประสบผลสำเร็จ


Network and IT Security

ภายนอก
- CAT (IPVPN)
- Remote Access Service (RAS)
- PointSec
- Symantec Antivirus
- Auto S/W Patching (SMS)
- Backup Control by ARC server

- Key Performance Index

ใช้ระบบ Windows Active Directory Authentication

ภายใน

- เกิดความเสี่ยงมากที่สุดคือบุคลากร

ทำยังไงให้ลูกค้าไว้วางใจ
Competitive การแข่งขัน มองเรื่องของการทำงานเชิงรุก
Challenge ความท้าทาย
Change การเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
Customer ลูกค้า
การทำงานด้าน IT แบ่งเป็น3 ส่วนคือ
1. Infra struture & Communication
2. Business Application
3. Business Process Analys

ลักษณะการจ้างงานของพนักงาน
- พนักงานประจำ(Permanent Employees)
- พนักงานรับเหมาแรงงาน(Sub-Contractual Employees)
ปัจจุบันมีพนักงานทั้งหมดจำนวน 2,906 คน


รู้อะไรบ้างจากการศึกษาดูงาน
1. ได้รู้ขั้นตอน วิธีการผลิตขวดแก้ว
2. ขวดแก้วที่ใช้แล้วสามารถนำกลับมาใช้ได้อีกครั้ง
3. รู้ว่าใช้วัตถุดิบใดบ้างในการผลิตขวดแก้ว
4. ทราบว่าบริษัทได้ผลิตขวด ให้แก่บริษัทใดบ้าง
5. การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ในการควบคุมการผลิต
6. เรียนรู้ถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัย ที่บริษัทใช้ติดต่อสื่อสารกันภายในและภายนอกองค์กร
7. ศึกษาต้นกำเนิดของบริษัทโซนี่
8. ได้เรียนรู้ถึงการจัดการและบริหารงานของทั้ง 2 บริษัท
9. ความสามัคคีในหมู่คณะ
10. ความตรงต่อเวลา



Diary 1



^การเดินทางสุดตื่นเต้น ^







การเดินทางในวันแรกของฉัน ทุกคนก็ได้ไปพร้อมกันที่จุดนัดพบในมหาลัย ยังไม่ทันขึ้นรถเลยกลุ่มเพื่อนๆ ของฉันก็นั่งทานขนมกัน แล้วอาจารย์ก็ได้พาไปไหว้พระพิฆเนศกัน จากนั้นเราได้นำสัมภาระขึ้นรถกัน ในคืนวันนั้น (วันที่ 12 สิงหาคม 2550) ทุกคนได้นอนกันบนรถ แต่ประมาณตอนตี 3 กว่า ฉันก็ได้ตื่นมาแล้วก็เห็นว่าถึงที่กรุงเทพฯ แล้ว หันไปมองเพื่อนๆ แต่ก็หลับกันหมด พวกเรากำลังอยู่บนทางด่วนฉันมองไปรอบๆ เห็นดวงไฟ แสงสีในกรุงเทพฯ มันสวยเหมือนที่เขาพูดกันจริงๆ เห็นห้างสรรพสินค้าต่างๆ สนามบินดอนเมือง และตึกที่เคยเห็นในทีวีอีกมากมาย จากนั้นเราก็ได้แวะถ่ายรูปกันที่เกาะลอย

Diary 2





วันผ่อนคลาย










วันที่ 13 สิงหาคม 2550 ถึงที่พัก(บ้านก๋งชัย2 จ.ระยอง) ในตอนเช้าพวกเราได้ทานข้าวต้มทะเลกัน เมื่ออิ่มกันแล้ว ทุกคนก็ได้รับกุญแจห้อง นอนห้องละ 4 คน และก็นำสัมภาระขึ้นไปเก็บบนห้อง จากนั้นป้าแดงก็แจ้งให้พวกเราว่าจะพาไปซื้อของฝากที่ร้านก๋งชัย 1 ผ่านเกาะเสม็ด จากนั้นก็ได้ไปที่พิพิภัณฑ์สัตว์น้ำ คนเยอะมากๆเลย ในน้นมีกุ้ง หอย ปู ปลา ที่หาดูได้ยาก มีม้าน้ำและเต่าตัวใหญ่ด้วย หลังจากนั้นเราก็กลับไปทานอาหาารกลางวันที่ที่พัก แต่เปลี่ยนบรรยากาศมานั่งทานทีริมชายหาด วันนั้นอาหารอร่อยมีหลายอย่าง มีทั้งกุ้งเผา ปลาหมึกเผา ปูเผา และต้มจืดสาหร่ายซึ่งเป็นอาหารที่ฉันชอบทานทั้งนั้น สักพักฉันกับเพื่อนก็ขึ้นไปหงีบหลับบนห้องพักประมาณบ่าย 2 ก็ชวนกันลงมาเล่นน้ำ คลื่นแรงมากแต่ก็สนุกดี ไม่รู้ทำไมริมชายหาดเต็มไปด้วยขยะ อาจารย์เลยให้ทุกคนช่วยกันเก็บขยะ จากนั้นก็ขึ้นไปอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าค่ำๆ ก็ได้เกตรียมการแสดงในตอนกลางคืน ฉันกับเพื่อนๆ อีก 6 คนเป็นแดนซ์เซอร์ เพื่อนอีกคนเป็นคนร้องนำ อาหารคืนนั้นก็อร่อยทุกจานเลย มีการแสดงจากผู้หญิงเทียมให้มอีก สวยๆกันทุกคนเลย พอถึงการแสดงของกลุ่มฉันซึ่งเป็นกลุ่มสุดท้าย ฉับกับเพื่อนก็ขอเต้นข้างล่างเวที พอเริ่มเพลงก็เต้นท่าที่เราซ่อมกัน พอถึงกลางๆเพลงมันก็เริ่มเปลี่ยน ท่ามันก็เลยเพี้ยนไปจนจบเพลง และก็มีอาจารย์ขึ้นไปร้องเพลงบนเวที พอมาถึงช่วงสุดท้ายของคืนนั้น อาจารย์ประกาศผล ปรากฎว่าห้องของฉันได้เงินรางวัลจากการช่วยกันเก็บขยะ และที่ภูมิใจอีกอย่างคือทีมของฉันเป็นทีมประกวดที่ชนะเป็นอันดับหนึ่ง ได้เงินรางวัล 500 บาท แล้วกลุ่มของฉันก็ได้แยกย้ายกันไปที่ห้องพัก พอถึงเตียงนอนก็หลับกันเลย หมดแรงเพราะเหนื่อยกันทั้งวัน

Diary 3













วันที่ 14 สิงหาคม 2550 ฉันตื่นแต่เช้าระหว่างรอเพื่อนอาบน้ำก็มายืนดูทะเลตอนเช้า ฉันพักห้องที่ติดกับดาดฟ้า อากาศที่นั่นดีมากมีลมพัดตลอดเวลา แต่ไม่รู้ทำไมเมื่อโดนลมแล้วรู้สึกตัวจะเหนี่ยวๆ พอได้อาบน้ำเสร็จ ก็ลงไปทานอาหารเช้าตอน 7 โมง ฉันและกลุ่มของเพื่อนฉันลงไปทานเป็นกลุ่มแรก ก็เลยเอากระเป๋าขึ้นไปเก็บบนรถก่อน ทุกคนเตรียมตัวกันไปศึกษาดูงานกันอย่างเต็มที่ที่บริษัทบางกอกกล๊าส จำกัด อ.แกลง จ.ระยอง ทุกคนได้เข้าไปดูขั้นตอนการทำงานกันในแต่ละขั้นตอน ฉันตื่นเต้นมากตอนเข้าไป ทางบริษัทก็ได้เตรียมการตอนรับให้เป็นอย่างดี คุณสุวดิษฐ์ พงษ์พิศาลได้พาพีมของฉันเดินชมทั่วบริเวณโรงงาน พอไปถึงขั้นตอนที่เขาหลอมขวดพอไปเดินดูใกล้ๆ มีการทำงานของเครื่องจักรเสียงดังมากๆ และก็ร้อนมากๆ เลย แต่ก็สนุกดีได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น จากนั้นเราก็กลับมาทานอาหารกลางวันที่บ้านก๋งชัย1 แล้วก็รีบไปที่พัทยากัน เราได้เขาพักกันที่โรงแรมชาร์มมิ่งอินท์ จากนั้นได้นั่งเรือสปีดโบ๊ท เพื่อที่จะข้ามไปเล่นน้ำทะเลที่เกาะล้าน น้ำทะเลที่นั่นใสจริงๆ สะอาดมากๆด้วย พวกเพื่อนๆ ก็ถ่ายรูปกันใหญ่เลย ฉันก็ลงเล่นน้ำกับกลุ่มเพื่อน ตอนกลับคนขับเรือเขาแข่งกันขับหวาดเสียวมากและก็ไปถึงก่อนเรือรำอื่นเลย พอถึงมื้อค่ำก็ไปทานอาหารที่ร้านอาหารจีนแห่งหนึ่ง ระหว่างรอชมการแสดง Alcaza Show โชว์กะเทยงาม ก็ได้ไปเดินเล่นที่บิ๊กซี เมื่อถึงเวลาแสดง ในโรงมีแต่ชาวต่างชาติ แต่พวกฉันได้นั่งกับสาวๆ ชาวเกาหลีใต้น่ารักกันทุกคนเลย ส่วนการแสดงก็สนุกบางตอนก็ไม่ค่อยสนุกเท่าไหร่ แต่ชุดและฉากที่ใช้ อลังกาลมากพอการแสดงจบก็เดินกลับที่พักกัน

Diary 4






15 สิงหาคม 2550 ได้ตื่นชาวกันเพื่อที่จะไปทานอาหารแถวเมืองชลและไปดูงานที่บริษัทโซนี่ ประเทศไทย อยุธยา เซ็นเตอร์ จำกัด ก่อนถึงที่บริษัทก็ได้นั่งพักทานข้าวกลางวันกันใกล้ๆวัดแถวบางปะอิน ฉันกับเพื่อนได้นั่งกระเฉ้าข้ามน้ำไปที่วัด ตอนกลับหวาดเสียวมากเพราะมันไปหยุดตรงกลางน้ำเพื่อที่จะย้อนกลับไปรับเพื่อนของฉันอีกคน จากนั้นก็เดินทางไปที่บริษัทโซนี่ฯ กัน เสียดายที่ไม่ได้เห็นขั้นตอนการผลิตสินค้าจริงๆ เห็นแต่ที่เขาให้ชมในแผ่นซีดี จากนั้นเราก็เดินทางกลับกันและแวะซื้อของฝาก(ขนมโมจิ) ที่จ.นครสวรรค์ พอถึงที่มหาลัยก็ดีใจมาก จะได้นอนสบายที่บ้านสักที พอถึงที่บ้านประมาณตี 3 กว่าก็หลับเลย